ภาวะภูมิไวเกินหรือSLE
ผู้ป่วย SLE รักษาไม่หายแต่สามารถมีคุณภาพีชีวิตใกล้เคียงคนปกติ ผู้ป่วยต้องทราบว่าโรคนี้จะมีบางช่วงที่ปราศจากอาการเรียก remission บางช่วงก็มีระยะที่เกิดโรคกำเริบเรียก flares ผู้ป่วยต้องเรียนรู้วิธีป้องกันโรคกำเริบและรู้วิธีรักษาโรคนี้มักจะเป็นในผู้หญิงแต่ไม่เป็นกรรมพันธุ์ โรค SLE มีได้หลายลักษณะดังนี้ Systemic lupus erythematosus (SLE) หมายถึงโรคที่มีการทำอักเสบและมีการทำลายเนื้อเยื่อหลายอวัยวะ เช่น ผิวหนัง ไต ข้อ หัวใจ
สาเหตุของ SLE
สาเหตุที่แท้จริงไม่มีใครทราบแต่เชื่อว่าเกิดจากหลายสาเหตุเช่นพันธุกรรม สิ่งแวดล้อมและระบบภูมิคุ้มกัน มักพบโรค SLE ในคู่แผดจากไข่ใบเดียวกัน มากกว่าแผดจากไข่คนละใบ นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า แสงแดด ความเครียด ยาบางชนิด การติดเชื้อบางชนิด เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดโรคในผู้ป่วยที่มีแนวโน้มโรคนี้ไม่สามารถติดต่อจากผู้ป่วยสู่คนอื่น ภูมิคุ้มกัน antibodies ของโรค SLE จะทำลายเนื้อเยื่อของตัวเองเรียก autoantibodies ทำให้เกิดการอักเสบของหลายอวัยวะ เกิดอาการ ปวด บวม แดง ร้อน ที่อวัยวะนั้น autoantibodiesบางส่วนจับกับสารในร่างกายเกิดเป็น immune complexes ซึ่งทำให้เกิดการอักเสบตามอวัยวะต่างๆ
อาการของโรค SLE
ผู้ป่วย SLE แต่ละคนจะมีอาการต่างกัน อาการมีตั้งแต่เป็นมาก บางรายเป็นน้อย อาการที่พบบ่อยได้แก่ อาการทางผิวหนังและอาการปวดข้อ อาการทางผิวหนังได้แก่มีผื่นโดยเฉพาะบริเวณที่ถูกแสงเรียกว่าแพ้แสงแดด Photosensitivity ผื่นมักจะเกิดมากบริเวณที่ถูกแสงแดด เช่นผื่นที่หน้าบริเวณโหนกแก้มและจมูกทำให้มีลักษณะคล้ายปีกผีเสื้อเรียก butterfly or malar rash
นอกจากนั้นยังพบว่ามีอาการผมร่วงด้วย ส่วนอาการทางข้อได้แก่ ปวดข้อ บางครั้งอาจจะมีอาการข้ออักเสบ ข้อบวมและปวด ไข้สูง มีผื่น อาการอื่นที่พบได้แก่ แน่นหน้าอก ผมร่วง ถูกแสงแล้วมีผื่นที่ผิวหนัง ซีด ปลายนิ้วจะมีสีม่วงอ่อน บางรายปวดหัว ซึม ชัก
อาการที่พบบ่อยในผู้ป่วยSLE
ตัวอย่างการศึกษาเห็ดหลินจือช่วยผู้ป่วยSLE ในสหรัฐอเมริกา
สปอร์เห็ดหลินจือเป็นเมล็ดของเห็ดหลินจือ ซึ่งมีขนาดเล็กมากคล้ายกับฝุ่น ที่เห็ดหลินจือผลิตขึ้นเมื่อเจริญเติบโตเต็มที่ สปอร์เห็ดหลินจือจะอุดมไปด้วยสารอาหารที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตของเห็ดหลินจือ สารอาหารเหล่านี้สามารถเร่งปฏิกิริยาการทำงานของระบบประสาท ชักนำปฏิกิริยาการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของฮอร์โมนและระบบการเผาผลาญของร่างกาย ดังนั้น จึงเป็นการเสริมสร้างภูมิต้านทานให้ร่างกาย ป้องกันเชื้อโรคต่างๆ เข้าสู่ร่างกาย และ ชะลอการเสื่อมสภาพของร่างกาย อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเมล็ดของเห็ดหลินจือห่อหุ้มด้วยเปลือกที่มีความแข็ง เหนียว ทนทานต่อแรงดันสูง ทนต่อกรด และการย่อยสลายของน้ำย่อยในร่างกาย สปอร์ของเห็ดหลินจือที่นำมาใช้ในการศึกษาครั้งนี้ จึงถูกนำไปกระเทาะเปลือกออกโดยมีอัตราการทำให้เปลือกแตกออกที่ 99.8% โดยสารอาหารที่อยู่ภายในสปอร์เห็ดหลินจือที่ถูกกระเทาะเปลือก (มีน้ำหนักโดยรวมประมาณ 37.5% ของน้ำหนักสปอร์) จะยังคงสภาพและมีประสิทธิภาพเช่นเดียวกับสปอร์ที่ยังไม่ได้ถูกกระเทาะเปลือก
ผลการศึกษาครั้งนี้ พบว่า สารอาหารจากสปอร์เห็ดหลินจือที่ถูกทำให้แตกตัว (กระเทาะเปลือกแล้ว) จะช่วยลดอุณหภูมิของร่างกาย กระตุ้นการเจริญอาหาร ทำให้ระบายท้อง และลดอัตราการเสียชีวิตของหนูทดลองที่เป็นโรค SLE และไม่พบผลข้างเคียงใดๆ ในการศึกษาครั้งนี้ นอกจากนี้ ยังพบว่า สารอาหารจากสปอร์เห็ดหลินจือยังสามารถช่วยเพิ่มปริมาณ T cell ในเม็ดเลือดขาวได้ในระดับเดียวกับการรักษาโรคโดยใช้ยาแผนปัจจุบัน
อย่างไรก็ตาม ในหนูทดลองกลุ่มที่เป็นโรค SLEและได้รับทั้งยาแผนปัจจุบันและสารอาหารจากสปอร์เห็ดหลินจือ พบว่า มีสุขภาพโดยรวมดีขึ้น และมีอัตราการเสียชีวิตลดลง (ในการทดลองครั้งนี้ไม่มีหนูทดลองในกลุ่มนี้เสียชีวิต) และยังพบว่า T%, Th% และ สัดส่วน Th/Tsเพิ่มขึ้น ขณะที่ Ts% ลดลงอย่างมาก เมื่อเทียบกับหนูทดลองกลุ่มที่เป็นโรค SLE และไม่ได้รับการรักษา
ด้วยเหตุที่ การทำงานของ T cell ที่ไปกระตุ้นการทำงานของ B cell ที่ผิดปกติเป็นสาเหตุหนึ่งของโรค SLE ดังนั้น การปรับสมดุลการทำงานของ T และ B cell รวมถึงการหลั่งสาร cytokine จะช่วยให้อาการต่างๆ ของโรค SLE ลดลง กล่าวคือ ปริมาณเม็ดเลือดขาว lymphocyte ในร่างกายที่สูงขึ้นแสดงให้เห็นถึงปริมาณ T cell ที่สมบูรณ์มีมากขึ้น ทำงานมีประสิทธิภาพขึ้น จึงเสริมสร้างระบบภูมิต้านทานของร่างกายให้ดีขึ้นด้วย