รับประทานเห็ดหลินจือแล้ว ทำไมต้องกินควบเครื่องดื่มด้วย
เพราะเราต้องการให้สมาชิกครอบครัวกาโนฯ ทุกคนรวมถึงผู้ป่วยทุกท่าน ได้รับประทานเห็ดหลินจือ แล้วได้สารออกฤทธิ์ทางยาให้ครบถ้วนมากที่สุดเท่าที่จะมากได้
สารออกฤทธิ์ทางยาของเห็ดหลินจือที่ว่านี้ ไม่ได้เจาะจงชื่อของสารทางเคมีแต่เพื่อให้จำได้ง่ายจึงได้มีการแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม หรือ 3 ประเภท ดังนี้
1. สารระเหย ซึ่งมีอยู่ประมาณ 5%
2. สารที่ละลายในน้ำ มีอยู่ประมาณ 30%
3. สารที่ไม่ละลายในน้ำ มีอยู่ประมาณ 65%
ณ.ปัจจุบันนี้ ไม่ว่าจะเป็นการสกัดเห็ดหลินจือด้วย กรรมวิธีใดก็ตาม ยังคงไม่สามารถสกัดได้สารออกฤทธิ์ทางยาครบถ้วน 100% ของสามประเภทนี้
เรามาทำความเข้าใจในกรรมวิธีการสกัดแต่ละอย่างที่มีความแตกต่างกันก่อน
การสกัดร้อน เป็นวิธีการสกัดแบบดั้งเดิม นั่นก็คือการต้มหลินจือด้วยน้ำ ใช้ความร้อนของน้ำที่เดือดแล้วเป็นตัวดึงสารออกฤทธิ์ทางยาของหลินจือปนมากับน้ำ จากนั้นก็กรองเอาเฉพาะน้ำ จากน้ำหลินจือที่ได้ ก็จะมีวิธีการผลิตด้วยกัน 4 แบบ
ประเภทที่หนึ่ง เอาน้ำต้มเคี่ยวกับหลินจือ จะเข้มข้นหรือไม่เข้มข้นขึ้นกับกรรมวิธีในการผลิตและการลงทุน จากนั้นส่วนใหญ่ก็จะนำไปผสมกับสมุนไพรอื่น ๆ น้อยรายที่จะใช้น้ำหลินจือที่สกัดได้นี้ล้วน ๆ 100%
ประเภทที่สอง ก็เอาน้ำหลินจือที่ได้ปนคลุกกับแป้ง แล้วปั้มเป็นเม็ด (ปัจจุบันนี้แทบจะเลิกผลิตแบบนี้แล้ว)
ประเภทที่สาม เป็นการสเปรย์ดรายน้ำหลินจือเข้าไปในห้องที่มีความเย็นจัดจนเป็นเกร็ดน้ำแข็ง แต่จะเป็นเกร็ดน้ำแข็งละลายกลับคืนเป็นน้ำได้ จึงจำเป็นต้องพ่นแป้งเข้าไปจับละอองน้ำให้เป็นผง ซึ่งจะพ่นแป้งมีคุณภาพหรือพ่นแป้งไม่มีคุณภาพ พ่นแป้งเยอะหรือพ่นแป้งน้อย ล้วนแล้วแต่มีส่วนในคุณภาพของหลินจือ
ประเภทที่สี่ เป็นการใช้ความดันสุญญากาศกดดันจนกลายเป็นผง
หลินจือสกัดด้วยความร้อนประเภทที่หนึ่งอาจได้สารหลินจือที่ละลายในน้ำได้เกือบ 100% อยู่ที่กรรมวิธีการลิตของผู้ผลิตว่าจะใส่สมุนไพรอื่นลงไปด้วยหรือไม่ ส่วนประเภทที่สองและสามจะไม่มีหลินจือล้วน 100% ด้วยกรรมวิธีการผลิต ที่จำเป็นต้องมีแป้งเข้าไปผสม ในขณะที่กรรมวิธีการผลิตประเภทที่สาม จะมีคุณภาพที่ดีและสามารถผลิตเป็นหลินจือล้วน 100%
ในขณะเดียวกัน ด้วยกรรมวิธีการผลิตแบบสกัดร้อน ความร้อน 100 องศาเซลเซียด ได้ทำลายสารระเหยจนหมดสิ้น ความร้อนสามารถดึงสารที่ละลายในน้ำที่มี 30% ออกมาได้ แต่ไม่สามารถดึงสารที่ไม่ละลายในน้ำ 65% ออกมาได้สำเร็จ ดังนั้น การผลิตประเภทที่สองและสาม แม้จะได้สารที่ละลายในน้ำมาได้ แต่ก็ไม่ถึง 30% เพราะต้องมีแป้งเข้าไปเป็นส่วนผสม จึงมีกรรมวิธีการใช้แรงกดดันสุญญากาศเท่านั้นที่ได้สารละลายในน้ำ 30%
การสกัดเย็นหรือฟรีซดรายเป็นกรรมวิธีการใช้ความเย็นจัดทำให้หลินจือแตกตัวจนกลายเป็นผง แต่ก็ไม่สามารถได้สารออกฤทธิ์ทางยาได้ครบถ้วนสมบูรณ์เช่นเดียวกัน ความเย็นทำให้ได้สารระเหยและสารที่ไม่ละลายในน้ำ รวมแล้วประมาณ 70% แต่ในขณะเดียวกันก็เพิ่มประสิทธิภาพของหลินจือที่ผลิตด้วยกรรมวิธีนี้ก็คือ จะได้ “สปอร์หลินจือ” มาด้วย ซึ่งสปอร์หลินจือจะออกฤทธิ์ได้แรงกว่าเนื้อโพรงรังผึ้งของหลินจือได้อีกเยอะมาก เพราะฉะนั้น ด้วยกรรมวิธีการสกัดเย็นที่เป็นแบบ“ฟรีซดราย” จึงมีคุณภาพในการออกฤทธิ์ที่ค่อนข้างแรง จัดจ้านกว่าหลิอจือที่ผลิตด้วยการสกัดร้อนเยอะมาก
มิสเตอร์ เลียวซูนเส็ง ได้พยายามพัฒนาที่จะให้สมาชิกครอบครัวกาโนฯ ได้ประสิทธิภาพครบถ้วนต่อสารออกฤทธิ์ทางยาทั้งสามประเภท ซึ่งแต่เดิมได้ใช้หลินจือ สกัดเย็นผสมอยู่ในเครื่องดื่มทุกประเภท
กระทั่งเมื่อประมาณสัก 10 ปีที่ผ่านมา จึงได้เปลี่ยนแปลงกรรมวิธีการผลิตเครื่องดื่ม ด้วยการใช้น้ำหลินจือสกัดร้อนผสมให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกับเครื่องดื่มชนิดนั้นเลย เช่น หลินจือจะอยู่ในเนื้อเดียวกับเนื้อกาแฟ จนแยกไม่ออกว่า ส่วนไหนเป็นกาแฟ ส่วนไหนเป็นหลินจือ
นี่แหละคือสาเหตุที่บริษัทกาโนฯ พยายามผลักดันให้คนที่กินหลินจือแล้ว ควรจะร่วมด้วยช่วยกันกับการดื่มเครื่องดื่มเพิ่มขึ้น ซึ่งเครื่องดื่มแต่ละตัวจะมีจุดเด่นเฉพาะตัว ในอาการของโรคแต่ละชนิด ที่เหมาะสมหรือควรจะกินร่วมกับเครื่องดื่มตัวไหน เราได้พยายามแยกแยะออกมาให้กินอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้โรคแต่ละอย่างมีโอกาสดีขึ้นและหายเร็วชัดเจนมากขึ้น
เพราะเราจะได้สารออกฤทธิ์ทางยาที่ครบถ้วนสมบูรณ์อย่างชัดเจน ได้ประสิทธิภาพของเครื่องดื่มแต่ละชนิดเข้ามาเสริม
นี่คือ คุณภาพที่ชัดเจนของผลิตภัณฑ์กาโนฯ ที่เราพยายามผสมผสานให้เห็นถึงคุณค่าของผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพของคนกินที่จะมีคุณภาพชีวิตที่ขึ้น เป็นการเปลี่ยนแปลงชนิดที่คาดคิดไม่ถึงกันทีเดียว